บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ท่องเที่ยว ณ ชัยภูมิ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

กุ้ยหลิน(Guilin)

เป็นหนึ่งในเมืองเอกของมณฑลกว่างซี มณฑลทางภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 240,000 ตารางกิโลเมตร ทางทิศใต้ติดกับมณฑลหยุนหนัน ทางเหนือติด กับกุ้ยโจว ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับหูหนัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับกว่างตง ทางใต้ติดกับอ่าวตังเกี๋ย และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับ ประเทศเวียดนาม ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบแอ่งกระทะ และเทือกเขาขนาดเล็กที่ยาวคดเคี้ยวติดต่อกัน เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ ภูเขาต้าหมิงซันและต้าเหยาซัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นเขตหินปูนขาวที่ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีถ้ำหินปูนอยู่มากมาย สภาพอากาศเป็นแบบเขตร้อน โดยทางเหนือเป็นเขตร้อนแถบเอเชียกลาง ทางใต้เป็นเขตร้อนแถบเอเชียใต้ อุณหภูมิเฉลี่ย 16-23 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุก ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 27-29 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 5.5-15.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-2,800 มิลลิเมตรต่อปี

เขางวงช้าง (Elephant Trunk Hill)

เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกุ้ยหลิน ตั้งอยู่ในตัวเมืองบริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ หลีเจียงและถาวฮวาเจียง ( หยางเจียง ) เขางวงช้างมีรูปร่างหากมองจากมุมที่เหมาะจะเห็นเหมือนช้างกำลังใช้งวงดูดน้ำจากแม่น้ำหลีเจียง มีถ้ำลอดระหว่างงวงและขาหน้าของงวงช้างเป็นรูปทรงกลม มองดูคล้ายพระจันทร์กำลังตกน้ำยามพลบค่ำ ถ้ำนี้จึงมีชื่อว่า “ สุ่ยเย่ ” หรือพระจันทร์บนผิวน้ำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นหน้าขึ้นตาของเมือง

ถ้ำขลุ่ยอ้อ (Reed Flute cave)

ถ้ำขลุ่ยอ้อ มีชื่อภาษาจีนกลางว่า “ หลูตี๋ ” ตั้งอยู่ชานเมืองกุ้ยหลิน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 240 เมตร มีบันไดขึ้นไป 60 ขั้น ที่มาของชื่อถ้ำมาจากต้นอ้อที่ขึ้นอยู่ด้านหน้า ในอดีตใช้ทำขลุ่ย ทางเดินภายในค่อนข้างแคบ มีหินงอกหินย้อยงดงามตลอดทาง มีไฟสีสาดไปตรงส่วนที่มีรูปร่างคล้ายอะไรบางอย่าง เช่น สิงโต คน น้ำตก เจดีย์ ฯลฯ ส่วนที่สวยที่สุดคือวังแก้วแห่งราชามังกร เป็นหินงอกขึ้นมาจากบริเวณที่มีน้ำซับ ดูแล้วเหมือนทัศนียภาพของเมืองกุ้ยหลินแถบแม่น้ำหลีเจียง