บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ท่องเที่ยว ณ ชัยภูมิ
วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
กุ้ยหลิน(Guilin)
เป็นหนึ่งในเมืองเอกของมณฑลกว่างซี มณฑลทางภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 240,000 ตารางกิโลเมตร ทางทิศใต้ติดกับมณฑลหยุนหนัน ทางเหนือติด กับกุ้ยโจว ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับหูหนัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับกว่างตง ทางใต้ติดกับอ่าวตังเกี๋ย และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับ ประเทศเวียดนาม ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบแอ่งกระทะ และเทือกเขาขนาดเล็กที่ยาวคดเคี้ยวติดต่อกัน เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ ภูเขาต้าหมิงซันและต้าเหยาซัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นเขตหินปูนขาวที่ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีถ้ำหินปูนอยู่มากมาย สภาพอากาศเป็นแบบเขตร้อน โดยทางเหนือเป็นเขตร้อนแถบเอเชียกลาง ทางใต้เป็นเขตร้อนแถบเอเชียใต้ อุณหภูมิเฉลี่ย 16-23 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุก ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 27-29 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 5.5-15.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-2,800 มิลลิเมตรต่อปี
เขางวงช้าง (Elephant Trunk Hill)
เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกุ้ยหลิน ตั้งอยู่ในตัวเมืองบริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ หลีเจียงและถาวฮวาเจียง ( หยางเจียง ) เขางวงช้างมีรูปร่างหากมองจากมุมที่เหมาะจะเห็นเหมือนช้างกำลังใช้งวงดูดน้ำจากแม่น้ำหลีเจียง มีถ้ำลอดระหว่างงวงและขาหน้าของงวงช้างเป็นรูปทรงกลม มองดูคล้ายพระจันทร์กำลังตกน้ำยามพลบค่ำ ถ้ำนี้จึงมีชื่อว่า “ สุ่ยเย่ ” หรือพระจันทร์บนผิวน้ำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นหน้าขึ้นตาของเมือง
ถ้ำขลุ่ยอ้อ (Reed Flute cave)
ถ้ำขลุ่ยอ้อ มีชื่อภาษาจีนกลางว่า “ หลูตี๋ ” ตั้งอยู่ชานเมืองกุ้ยหลิน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 240 เมตร มีบันไดขึ้นไป 60 ขั้น ที่มาของชื่อถ้ำมาจากต้นอ้อที่ขึ้นอยู่ด้านหน้า ในอดีตใช้ทำขลุ่ย ทางเดินภายในค่อนข้างแคบ มีหินงอกหินย้อยงดงามตลอดทาง มีไฟสีสาดไปตรงส่วนที่มีรูปร่างคล้ายอะไรบางอย่าง เช่น สิงโต คน น้ำตก เจดีย์ ฯลฯ ส่วนที่สวยที่สุดคือวังแก้วแห่งราชามังกร เป็นหินงอกขึ้นมาจากบริเวณที่มีน้ำซับ ดูแล้วเหมือนทัศนียภาพของเมืองกุ้ยหลินแถบแม่น้ำหลีเจียง
สวนเจ็ดดาว (Seven Star Park)
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลั่วหยาง ประมาณ 7 ไมล์ มีความเป็นมาดังนี้เมื่อปี ที่ 64 ของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (25-220 ก่อนคริสตศักราช) ฮ่องเต้ หมิง ได้ส่งผู้แทนไปศึกษาพระพุทธศาสนาทางโลกตะวันตก จากนั้นสามปีต่อมา พระเกจิชื่อดังของอินเดียได้เดินทางกลับมาพร้อมกับผู้แทนโดยทั้งสองได้จูงม้าขาวที่แบกพระไตรปิฎก และพระพุทธรูป นี่เป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศจีน นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสงบร่มรื่นในบริเวณวัด ที่นี่เป็นแหล่งที่รวบรวมสถาปัตยกรรมอันมีค่า อายุกว่า 1900 ปี ประกอบด้วย ห้องบัญชาการฮ่องเต้ ห้องประดิษฐานพระพุทธรูป ห้องสำหรับฟังธรรมเทศนาและระเบียงเรียบด้านหลังวัดที่เชื่อว่าเป็นจุดที่ม้าขาวได้แบกพระพุทธรูปและพระสูตรจากอินเดีย พร้อมๆ กับพระเกจิจากอินเดียทั้งสองรูปได้แปล พระสูตรเป็นภาษาจีนซึ่งทำให้ที่แห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลั่วหยาง ประมาณ 7 ไมล์ มีความเป็นมาดังนี้เมื่อปี ที่ 64 ของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (25-220 ก่อนคริสตศักราช) ฮ่องเต้ หมิง ได้ส่งผู้แทนไปศึกษาพระพุทธศาสนาทางโลกตะวันตก จากนั้นสามปีต่อมา พระเกจิชื่อดังของอินเดียได้เดินทางกลับมาพร้อมกับผู้แทนโดยทั้งสองได้จูงม้าขาวที่แบกพระไตรปิฎก และพระพุทธรูป นี่เป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศจีน นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสงบร่มรื่นในบริเวณวัด ที่นี่เป็นแหล่งที่รวบรวมสถาปัตยกรรมอันมีค่า อายุกว่า 1900 ปี ประกอบด้วย ห้องบัญชาการฮ่องเต้ ห้องประดิษฐานพระพุทธรูป ห้องสำหรับฟังธรรมเทศนาและระเบียงเรียบด้านหลังวัดที่เชื่อว่าเป็นจุดที่ม้าขาวได้แบกพระพุทธรูปและพระสูตรจากอินเดีย พร้อมๆ กับพระเกจิจากอินเดียทั้งสองรูปได้แปล พระสูตรเป็นภาษาจีนซึ่งทำให้ที่แห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลั่วหยาง ประมาณ 7 ไมล์ มีความเป็นมาดังนี้เมื่อปี ที่ 64 ของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (25-220 ก่อนคริสตศักราช) ฮ่องเต้ หมิง ได้ส่งผู้แทนไปศึกษาพระพุทธศาสนาทางโลกตะวันตก จากนั้นสามปีต่อมา พระเกจิชื่อดังของอินเดียได้เดินทางกลับมาพร้อมกับผู้แทนโดยทั้งสองได้จูงม้าขาวที่แบกพระไตรปิฎก และพระพุทธรูป นี่เป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศจีน นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสงบร่มรื่นในบริเวณวัด ที่นี่เป็นแหล่งที่รวบรวมสถาปัตยกรรมอันมีค่า อายุกว่า 1900 ปี ประกอบด้วย ห้องบัญชาการฮ่องเต้ ห้องประดิษฐานพระพุทธรูป ห้องสำหรับฟังธรรมเทศนาและระเบียงเรียบด้านหลังวัดที่เชื่อว่าเป็นจุดที่ม้าขาวได้แบกพระพุทธรูปและพระสูตรจากอินเดีย พร้อมๆ กับพระเกจิจากอินเดียทั้งสองรูปได้แปล พระสูตรเป็นภาษาจีนซึ่งทำให้ที่แห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
แม่น้ำหลีเจียง ( Li River)
หลีเจียง มีต้นน้ำมาจากเขาลูกแมวหรือที่ชาวจีนเรียกว่า “ มาวเอ๋อ ” ในเขตอำเภอซิงอ่านเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกวางสี ไหลลดเลี้ยวหลบหลีกขุนเขา ผ่านเมืองกุ้ยหลินถึงอำเภอหยางซั่วรวมความยาว 431 กิโลเมตร โดยมีชื่อใหม่ ช่วงต่อจากนั้นว่า กุ้ยเจียง ไหลเข้าสู่ชายแดนที่อำเภออู๋โจวเข้าสู่ทิศตะวันตก ของมณฑลกวางตุ้งที่เมืองเฟิงคาย มีชื่อใหม่ในกวางตุ้งว่า แม่น้ำตะวันตกหรือซีเจียง ไฮไลต์ของการมาเที่ยวที่กุ้ยหลินนี้อยู่ที่การล่องแม่น้ำหลีเจียง ที่มีความยาวกว่า 400 กิโลเมตร เพื่อชมทิวทัศน์ที่สุดงดงามของภูเขาหิน ทั้งนี้โดยปกติแล้วการล่องแม่น้ำหลีเจียงเพื่อการท่องเที่ยวจะทำกันในระยะเวลา 60 กิโลเมตรโดยใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงเท่านั้น ด้วยเรือ 3 ชั้น ที่สองชั้นล่างจะทำเป็นโต๊ะอาหาร ขณะที่ดาดฟ้าจะเปิดโล่งให้นักท่องเที่ยวชมทิวทัศน์กันได้อย่างอิสระ ในราคาประมาณ 270 หยวน ( ราวพันกว่าบาท ) จุดหมายของการล่องเรือจะอยู่ที่เมือง หยางซั่ว (Yang-Shou)
Yangshuo หยางซั่ว 阳朔
จากกุ้ยหลินนั้นจะมาที่หยางซั่วง่ายมากเลย ไปที่ท่ารถเมล์ ย้ำว่าท่ารถเมล์ โดยสามารถเรียก taxi มาได้บอกคนขับว่า (公共汽车站 gong1gong4qi4che1zhan4)เมื่อลงจากรถแล้ว ระวังจะมีคนเยอะแยะมากมายมาถามว่าจะไปไหนก็ไม่ต้องไปสนใจ ให้เดินเข้าไปซื้อตั๋วเองข้างในตึก จะเป็นช่องๆ ต่อคิวซื้อบอกเขาว่าไปหยางซั่ว เขาก็จะออกตั๋วมาให้ และ fix ที่นั่ง ราคาคนละ 17 หยวน ใช้เวลาราราวๆ 1 ชั่วโมงนิดๆ
แต่โดยปรกติแล้วกรุ๊ปทัวร์ส่วนใหญ่จะให้นั่งเรือ Li river cruise ตามแม่น้ำหลีไปจนถึงหยางซั่ว เริ่มกันที่ Xingping จาก Yangshuo จะมาที่นี่ก็ไม่ยากครับ จะมีรถเมล์ เล็กๆ ขับๆ เรียกหาลูกค้าในเมือง Yangshuo อยู่แล้ว ค่ามาก็คนละ 7 หยวน ใช้เวลาราวๆ 40 นาที ให้มองหารถที่มีคำว่า 阳朔 - 兴坪 (Yangshuo ไป Xingping)
แล้วก็หาแพไป Yangdi ไปกลับใช้เวลา 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 200 หยวนต่อแพ (ในส่วนตรงนี้หา tour agency ในเมืองให้ช่วยหาแพให้ได้นะครับอาจจะสะดวกกว่ามานั่งหาเอาที่ Xingping)
แต่โดยปรกติแล้วกรุ๊ปทัวร์ส่วนใหญ่จะให้นั่งเรือ Li river cruise ตามแม่น้ำหลีไปจนถึงหยางซั่ว เริ่มกันที่ Xingping จาก Yangshuo จะมาที่นี่ก็ไม่ยากครับ จะมีรถเมล์ เล็กๆ ขับๆ เรียกหาลูกค้าในเมือง Yangshuo อยู่แล้ว ค่ามาก็คนละ 7 หยวน ใช้เวลาราวๆ 40 นาที ให้มองหารถที่มีคำว่า 阳朔 - 兴坪 (Yangshuo ไป Xingping)
แล้วก็หาแพไป Yangdi ไปกลับใช้เวลา 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 200 หยวนต่อแพ (ในส่วนตรงนี้หา tour agency ในเมืองให้ช่วยหาแพให้ได้นะครับอาจจะสะดวกกว่ามานั่งหาเอาที่ Xingping)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)